ธรรมะกับการเงิน

ธรรมะกับการเงิน

แม่อุ๋ยอ่านหนังสือ ธรรมะธรรมเงิน แล้วชอบ
จึงนำมาสรุป พอดีเข้ากับวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาพอดีเลยค่ะ

หลายคนอาจจะแปลกใจว่า

ธรรมะกับการเงิน สองเรื่องนี้ดูน่าจะเป็นคนละเรื่องกัน
แต่จริงๆ แล้ว มีหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลเกี่ยวกับการงินมากมาย

คนธรรมดาอย่างเราๆ

ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน
เจ้าของธุรกิจ คุณหมอ วิศวกร พ่อค้าแม่ค้า
ต่างต้องทำงานหางินมาใช้จ่าย
ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว
จากที่เคยได้โบนัสปีละหลายเดือน
จากที่เคยซื้อง่ายขายคล่อง
แต่เวลานี้รายได้ไม่เป็นอย่างที่เคย ในขณะที่รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น

หนทางหนึ่ง

ที่จะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง
ก็คือการน้อมนำธรมะมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
เพราะธรรมะอินเทรนด์เสมอ

พุทธพจน์เกี่ยวกับเงินทอง

“ขยันทำงาน ไม่ประมาท ฉลาดในการจัดการ เลี้ยงชีพแต่พอดี
ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่และเพิ่มทวี”

ไม่ประมาท

ความประมาททำให้เราหลงเขาไปในวังวนแห่งความเสื่อมเสียทรัพย์สิน
ซึ่งก็คือ อบายมุขทั้ง ๖ ประการ ได้แก่
๑. อักขอุตตะ การเล่นพนัน รวมทั้งแทงบอลซื้อหวย
๒. สุราธุตตะ การดื่มสุรา เสพยาเสพติด
๓. อิตถีธุตตะ การเที่ยวกลางคืน เป็นนักเลงผู้หญิง
๔. ปาปมิตตะ การคบเพื่อนไม่ดี
๕. อาลสุสานุโยโค การเกียจคร้านในการทำงาน
๖. สมชฺซาภิ การลุ่มหลงมัวเมาในการบันเทิง ดูหนัง ดูละครเป็นประจำ

ฉลาดในการจัดการ

ใช้หลักโภวิภาค ๔ มาจัดการแบ่งเงินเป็น ๔ ส่วน
ส่วนแรก คือ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ จัดสรรไว้สำหรับใช้จ่ายเลี้ยงตนเอง
พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่อุปการะเลี้ยงดูเรามา
สองส่วน คือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ จัดสรรไว้สำหรับการลงทุนประกอบอาชีพ
พัฒนางานเพื่อสร้างรายได้สำหรับอนาคต
ส่วน ๒๕ เปอร์เซ็นต์สุดท้าย ให้เก็บออมไว้ใช้ยามจำเป็น

พุทธพจน์ ๔ ข้อ ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกมิติเกี่ยวกับการเงิน

Cr. ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์

ร้านทองบางพลัด ร้านทองใกล้ฉัน ออมทองรูปพรรณ ออมทอง ได้ทุกน้ำหนัก ครึ่งสลึง 1 สลึง 1 บาท